เป็นพนักงานกินเงินเดือนจ่ายภาษีให้ประกันสังคมทุกเดือน ทำไมถึงไม่ได้เงินเยียวยา? , พร้อมเพย์ก็มีนะ…แต่ทำไมเงินไม่เข้าหล่ะ? , เช็คสิทธิได้ที่ไหน? และยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้สาเหตุว่าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) เหมือนกัน แต่ทำไมเงินเยียวยา ม.33 ถึงไม่เข้า
ต้องบอกก่อนว่าโครงการเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 เป็นหนึ่งในโครงการช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เพื่อช่วยเหลือในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ ตามเงื่อนไขที่ สปส. กำหนด ให้สอดคล้องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19
ในครั้งนี้แอดมินขอหยิบยกเปิดสาเหตุการไม่ได้รับเงินเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 เป็นอีกทางช่วยกระจายข่าวประชาสัมพันธ์ ให้ผู้มีสิทธิได้จัดการเตรียมความพร้อมให้กับตัวเอง ซึ่งสรุปตามขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้
1. ตรวจสอบสถานะ โครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้ที่ https://www.sso.go.th/eform_news/
2. ได้รับสิทธิเยียวยา แต่เงินเยียวยาไม่เข้าบัญชี ให้เร่งตรวจสอบบัญชีพร้อมเพย์ให้ถูกต้อง
- ชื่อบัญชีตรงกับผู้ได้รับสิทธิประกันตน
- ผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัวประชาชน และบัญชียังเคลื่อนไหว
วิธีการผูกบัญชีพร้อมเพย์ด้วยบัตรประจำตัวประชาชน https://www.facebook.com/ssofanpage
3. สปส. จะโอนเงินเยียวยาให้ “กลุ่มตกหล่น” ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หลังจากที่ผู้ประกันตนทำการผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนชนเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ: การได้รับสิทธิเยียวยา ม. 33 ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กระทรวงแรงงานกำหนด
กลุ่ม 13 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี นราธิวาส ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา จะได้รับเงินเยียวยา 2,500 บาท จำนวน 2 รอบ
กลุ่ม 16 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง จะได้รับเงินเยียวยา 2,500 บาท จำนวน 1 รอบ
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่กระทรวงแรงงาน โทร. 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
หรือทาง Facebook สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
พิเศษ!! สำหรับครอบครัว KTBGS
หากเช็คสิทธิแล้วได้รับเงินเยียวยาและสมัครพร้อมเพย์ด้วยรหัสบัตรประชาชนเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ได้รับเงินเยียวยา หรือเป็นพนักงานเข้าใหม่ช่วงตั้
หรือติดต่อ ส่วนบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ โทร 02-791- 4616, 02-791- 9868
ขอบคุณข้อมูล