ร่างกาย ยังต้องหมั่นตรวจเช็ค  ถ้าบอกว่า ไม่มีเงินเก็บ ขอชวนมาสแกน สุขภาพทางการเงิน

 

ลองมาตรวจ สุขภาพทางการเงิน ของตัวเองก่อนที่จะพูดว่า

“แค่ใช้เงินให้ครบเดือน ก็ไม่พอแล้ว”

“ทำงานมาหลายปี ไม่มีเงินเก็บได้ไง”

“ภาระค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนก็เยอะมากแล้ว จะไปเอาเงินที่ไหนมาเก็บ”  และอีกหลายๆ เหตุผลที่จะคัดค้านการเก็บเงิน

แต่นั่นใช่สาเหตุจริงๆ รึเปล่า หรือเป็นเพราะเรายังไม่รู้สถานะทางการเงินของตัวเอง จึงทำให้การตั้งเป้าหมายห่างไกลความเป็นจริงที่จะทำได้ ลองมาตรวจสุขภาพทางการเงินของตัวเองเพื่อให้รู้ว่ามีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอะไร จะได้เริ่มต้นวางเป้าหมายทางการเงินที่เป็นไปได้ และสามารถออมได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ตามสไตล์ความพอดีของตัวเอง

 

ขอแนะนำ  แบบทดสอบสุขภาพทางการเงิน ของทาง SET  เพื่อให้รู้ถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของตัวเอง ซึ่งหลังจากทำแบบทดสอบแล้ว ทำให้ทราบระดับสุขภาพทางการเงินของตัวเอง พร้อมคำแนะนำดีๆ ไปปรับใช้ แต่แอดมินว่ายังไม่พอสำหรับความอยากรู้ต้นสายปลายเหตุที่แท้จริง จึงมีตัวช่วยมาให้ได้ทดลองใช้กันแบบฟรีๆ จะได้ไขข้อสงสัยกันไปเลย

 

 

 

 

ฐานะดีแบบมโน หรือ ร่ำรวยเป็นเรื่องจริง

คงเป็นคำถามที่ไม่รู้จะตอบยังไง ที่ว่า…

ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงเรียกว่า “รวย” แล้วต้องมีมากแค่ไหนถึงจะ “มั่งคั่ง”

ไม่มีใครตอบได้ดีไปกว่าการลงมือค้นหาพื้นฐานสถานะทางการเงินของตัวเอง ซึ่งในบทความนี้ขอแชร์ 2 เครื่องมือ ที่เป็นตัวช่วยในการค้นหาคำตอบ โดยแต่ละตัวต่างมีจุดเด่นและความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันไป

 

“งบดุลส่วนบุคคล” ค้นหาความมั่งคั่ง

 

มาตรวจเช็ค สุขภาพทางการเงิน

 

 

จุดเด่น

ทำให้รู้จักสถานะทางการเงินในปัจจุบัน เพื่อดูว่าตอนนี้เรามี ทรัพย์สิน หรือ หนี้สิน อะไรบ้าง

 

สูตรคำนวณ

ความมั่งคั่งสุทธิ = สินทรัพย์ทั้งหมด หักลบ หนี้สินทั้งหมด

จากผลลัพธ์ที่ได้มา หากความมั่งคั่งยิ่งมาก ก็แสดงว่าเรามีสถานะการเงินที่ดี โดยเราจะมองเห็นภาพรวมของทรัพย์สินและหนี้สินที่มีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหมือนภาพสะท้อนพฤติกรรมการใช้เงินในอดีตที่ผ่านมาทั้งหมด เช่น

 

  • บางคนเก็บเงินเก่ง ก็จะไปสะท้อนอยู่ในทรัพย์สินสภาพคล่อง หรือทรัพย์สินลงทุน
  • บางคนอยู่ในวัยสร้างครอบครัว ก็จะไปสะท้อนอยู่ในทรัพย์สินใช้ส่วนตัวเป็นบ้านหรือรถยนต์
  • บางคนมีปัญหาในการใช้เงิน ก็จะไปสะท้อนอยู่ในรายการหนี้สินระยะสั้น/ยาว

 

 

 

 

“งบกระแสเงินสด” ได้มาจ่ายไป เท่าไหร่รู้หมด

 

มาตรวจเช็ค สุขภาพทางการเงิน

 

 

จุดเด่น:

ทำให้รู้จักพฤติกรรมการใช้จ่ายในแต่ละวัน

 

สูตรคำนวณ

งบกระแสเงินสด = รายได้ทั้งหมด หักลบ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด

หากสรุปผลในแต่ละเดือนจะทำให้รู้ว่าเรามี เงินเหลือ หรือ เงินขาด และแอดมินเชื่อว่าหลายคนมักจะเลือกที่จะ “ลดรายจ่าย” มากกว่า “สร้างรายได้” เพราะทำได้ง่ายกว่า ดังนั้นการวางแผนใช้จ่ายและบริหารหนี้สิน จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางแผนการเงิน

 

สำหรับผู้ที่สนใจอยากรู้ลึก รู้จริง ทั้งใน งบดุล และ งบกระแสเงินสด คำนวณพร้อมกันในคราวเดียว แอดมินคิดว่า แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบสถานะทางการเงิน ตัวนี้น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ซึ่งภายในแบบสอบถามจะสแกนตัวเองตั้งแต่ สินทรัพย์ หนี้สิน รวมถึงรายได้-ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ทำให้รู้พื้นฐาน สุขภาพทางการเงิน ของตัวเองอย่างละเอียดยิบ รู้จักตัวเองดีแล้วคราวนี้เป้าหมายที่ตั้งไว้คงไม่ไกลเกินเอื้อม

 

 

 

 

 

สรุป

นกน้อยสร้างรังแต่พอตัว ทำอะไรต้องดูให้พอดี สมควรกับฐานะของตน เรื่องการเงินก็เช่นกัน ถ้ายังไม่รู้จักสถานะการเงินของตัวเองดีพอ ลองเริ่มสำรวจทรัพย์สิน หนี้สิน การใช้จ่ายเงินของตัวเองก่อน

 

1. รู้จักตนเอง ด้วยการทดสอบสุขภาพทางการเงิน

2. ตรวจสอบทรัพย์สมบัติ ผ่านตัวช่วย งบดุลส่วนบุคคล

3. รู้จักพฤติกรรมการใช้จ่าย ผ่านตัวช่วย งบกระแสเงินสด

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: SET