การมีชีวิตที่สมดุลทั้งด้านการทำงาน ชีวิตส่วนตัว จะว่าง่ายก็ไม่ใช่ จะว่ายากเกินไปก็ไม่เชิง การให้ความสำคัญกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความตึงเครียดทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง ไม่ว่าจะทำงานประจำหรืออาชีพอิสระ หากหักโหมกับงานมากๆ นานวันเข้าอาจจะกระทบกับสุขภาพตัวเองในอนาคต ซึ่งวันนี้แอดมินขอเปิดประสบการณ์ของพี่แก้ว-คุณอรจรรยา จันทวรสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ KTGS มาแชร์และเล่าประสบการณ์ตรงของตัวเองในสภาวะที่ชีวิตขาดสมดุล และเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์นั้นได้อย่างไร
พี่แก้วเล่าว่าหากนึกถึง คำว่า “สมดุล” เราจะนึกถึงตาชั่ง แต่ว่าไม่ต้องเท่ากันเป๊ะตลอดเวลา บางครั้งหย่อนไปทางขวา บางครั้งก็ซ้าย แล้วก็กลับมาสมดุล แล้วก็เอียงขวาเอียงซ้ายอีกเหมือนกับแต่ละคนต้องหาความสมดุลของตัวเองให้เจอ
พี่แก้วเชื่อว่าองค์กร KTGS เราอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ได้ เพราะพนักงานทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพราะฉะนั้นเมื่อสมดุลองค์กร หน่วยย่อยๆ ลงมาตามแต่ละสายงาน ฝ่ายงาน หน่วยงาน ต่างก็ต้องหาความสมดุลที่เหมาะสมกับลักษณะของงานตัวเองให้เจอ เช่น พนักงานส่วน Front จะถนัดในด้าน Technical Skill หรืองานด้านปฏิบัติการที่มีกระบวนการชัดเจน, พนักงาน Office ที่ทำงานดูแลหลังบ้านจะมีความถนัดอีกแบบ ซึ่งงานแต่ละด้านจะแตกต่างกัน ความสมดุลนั้นย่อมแตกต่างกัน ซึ่งแต่ละคนต้องมองหาให้เจอเอง
สิ่งที่อยากฝากไว้ที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรได้ โดยประสบการณ์ตรงจากตัวพี่แก้วเอง กล่าวคือ ตอนมาทำงานรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ในช่วงแรกมีความกดดันพยายามศึกษาต้องการทำทุกอย่างให้ดี หรือใช้คำว่า “เข่น”ได้เลย เพราะเราพยายามไม่หยุด จนกระทั่งไม่สบาย มีอาการบ้านหมุน จนต้องเรียกรถพยาบาลมารับ นับเป็นเหตุการณ์ครั้งแรกในชีวิตเลย เมื่อลุกขึ้นมาจะเวียนหัว มีอาการบ้านหมุน ซึ่งทำให้พี่คิดได้ว่าเมื่อไรเราทำให้ชีวิตขาด สมดุล เช่น หักโหมกับร่างกายมากเกินไป สุดโต่งไม่รู้จักสร้างสมดุลร่างกายให้ตัวเองดีๆ วันหนึ่งเกิดอะไรขึ้นมา จะเอาอะไรไม่อยู่ ควบคุมไม่ได้ และอีกเหตุการณ์ ช่วงใกล้วาเลนไทน์ปี พ.ศ.2566 นี้ อยู่ดีๆ ก็ปวดหัวมากซึ่งหมอวินิจฉัยว่าเป็นภาวะการปวดหัวจากความเครียดสะสม ซึ่งก่อนหน้านี้พี่ก็มีอาการเตือนมาเรื่อยๆ ปวดหัวเรื่อยๆ ซึ่งเราก็แก้โดยการไปนวดบ้าง กายภาพบ้าง ทำทุกอย่างแต่ก็ยังเป็นๆ หายๆ ถ้าเราเป็นอะไรทางร่างกายยังโชคดีเพราะร่างกายเราจะแสดงอาการที่รู้สึกผิดเพี้ยนไป มีอาการมีสาเหตุบางอย่างให้เราได้รับรู้ได้ แต่ถ้าร่างกายมีความทนทานต่อการปวดหรือผิดปกติมากกว่านี้ เช่น ทำให้นอนไม่หลับ ซึมเศร้า ก็อาจนำไปสู่สภาพการขาดความสมดุลทางจิตใจ ซึ่งจะหนักกว่าทางร่างกาย ยิ่งคนที่อายุมากๆ ถ้ามีใครมาบอกให้พบจิตแพทย์ ส่วนใหญ่มักจะไม่ไป โดยคนทั่วไปจะรู้ว่าเราผิดปกติ แต่ตัวเองจะไม่รู้เลยถึงการซึมซับความเครียดเข้ามาในตัวจนกระทั่งร่างกายรับไม่ไหวและไม่มีอาการแจ้งเตือนใดๆ จนทำให้ระบบร่างกายรวนไปเลยทั้งกายและใจ
ถ้าเราอยากให้ตัวเรามีตำแหน่งหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า อยากให้ครอบครัวอยู่ดี อยากให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน เราควรลองหันกลับมาดูตัวเราเองว่าตัวเราหรือชีวิตเรามีความ สมดุล แล้วหรือยัง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ การงาน ครอบครัว มองหลายๆ มิติ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเป็นการสร้างความยั่งยืน Sustainability ซึ่งถ้าเรามีความสุข คนในครอบครัวก็มีความสุข ทุกอย่างก็จะดีเราควรพยายามหาวิธีสร้าง Balance ของตัวเองให้ดี เมื่อมีสมดุล + สติ เราจะรู้เองว่าตัวเราขาดความสมดุลด้านไหน
สมดุลชีวิตตามสไตล์พี่แก้ว-คุณอรจรรยา จันทวรสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ KTGS
ทุกคนมีเวลาเท่ากัน แต่ถ้าจัดความสำคัญแต่ละเรื่องให้เหมาะสมก็สามารถสร้างสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้ และท้ายสุด ตัวเราเอง จะมีความสุขกับชีวิตที่จัดการได้ เพื่อนๆ ลองสำรวจตัวเองกันว่าใน 24 ชั่วโมงนั้น ได้ใช้ชีวิตไปกับด้านไหนบ้าง แล้วมีตรงไหนที่เมื่อปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้วจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น แอดมินเป็นกำลังใจให้☺
สนใจร่วมงานกับเรา สมัครเลย
ติดตามข่าวสาร KTGS Facebook Page